วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

อิคุจิโร โนนากะ ผู้บุกเบิก KM เอเซีย

ศาสตราจารย์ อิคุจิโร โนนากะ เป็นชาวญี่ปุ่น   ถือเป็นกูรูด้าน KM ชาวเอเชียที่ถือว่าได้รับการยอมรับทั่วโลก สำหรับประวัติการทำงานนั้น  เป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ที่ Haas School of Business, UC Berkeley และที่ Hitotsubashi University in Tokyo เป็นคณบดีศูนย์วิจัยด้านความรู้และนวัตกรรม (CKIR) ที่ Helsinki School และที่ Japan Advanced Institute of Science and


เริ่มสนใจในเรื่องของ KM เมื่อครั้งที่กำลังเรียนระดับปริญญาเอกที่ UC Berkeley และใช้เวลากว่า 5 ปี ทำปริญญานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาก้าวสู่ตำแหน่งสุดยอดกูรู KM ก็เมื่อเขาร่วมมือกับเพื่อน Hirotaka Takeuchi และ  Ken-ichi Imai ทำโครงการพัฒนาองค์กรธุรกิจในญี่ปุ่นก้าวสู่โลกนวัตกรรม ซึ่งพวกเขาพบว่าเกิดจากการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นการปฏิวัติธุรกิจและอุตสาหกรรมแบบเดิมของญี่ปุ่น ไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย “นวัตกรรม”
โนนากะกับ Hirotaka Takeuchi ร่วมกันเขียนหนังสือที่ชื่อว่า "The Knowledge-Creating Company" เมื่อ ค.ศ.1995 และถือเป็นคัมภีร์ที่นัก KM ทั่วโลกยอมรับ  หนังสือเล่มดังกล่าว นำเสนอทฤษฎี KM ด้วยกิจกรรมสำคัญ 7 ประการ ในการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร ได้แก่ 1.สร้างวิสัยทัศนเกี่ยวกับความรู้ 2.สร้างทีมจัดการความรู้ 3.สร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเข้มข้นในกลุ่มพนักงานระดับล่าง 4.จัดการความรู้ควบไปกับกิจกรรมพัฒนาสินค้า / วิธีการใหม่ หรือพัฒนารูปแบบการทำงาน 5.เน้นการจัดการองค์กรแบบ "ใช้พนักงานระดับกลางเป็นพลังขับเคลื่อน" (middle-up-down management) 6. เปลี่ยนองค์กรไปเป็นแบบ "พหุบาท" (hypertext)  และ 7.สร้างเครือข่ายความรู้กับโลกภายนอก
โนนากะเป็นนักคิด นักวิชาการจากรั้วมหาวิทยาลัย Hitotsubashi University ยุคแรกๆ ที่ผสมผสานเอาแนวคิดของ 2 บรมครูอย่าง Peter Senge กูรูการจัดการที่เน้นองค์กรแห่งการเรียนรู้กับ Peter Drucker ที่ปรมาจารย์อีกคนที่มองว่า KM เป็นกุญแจสู่การเติบโตขององค์กรในอนาคตและผลิตผลจะงอกเงยได้ก็ต้องอาศัยความรู้เป็นตัวนำมาปรับใช้และทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับหลายธุรกิจในญี่ปุ่นจนประสบความสำเร็จ เขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากหลายบริษัทชั้นน้ำอย่าง ฟูจิ ซีร็อกซ์ เอ็นทีที  การบริหารจัดการ KM เป็นภูมิปัญญา และฝังรากลึกอยู่ในปรัชญาองค์กรจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันอย่างแท้จริงเวลาพูดถึงการบริหารจัดการความรู้ คนส่วนใหญ่จะนึกไปถึงไอที แต่โนนากะมองว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนถ้าทำความรู้จักและเข้าใจตัวตน KM อย่างถ่องแท้ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรได้มาก 50-60% แต่ทุกวันนี้หลายองค์กรกลับไม่ได้เอาความรู้ไปใช้ให้เกิดประสิทธิผลอย่างเพียงพอ ทั้งในความเป็นจริง KM ถือเป็นทรัพย์สินที่ทรงคุณค่าสูงสุดในองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น