อ็อกซ์แฟม องค์กรพัฒนาเอกชนสากลออกโรงเตือน ประชากรโลกอาจต้องเผชิญสภาวะราคาต้นทุนสินค้าการเกษตรพุ่งสูงเกินกว่าหนึ่งเท่าตัว ภายในอีกไม่ถึง 20 ปี
หลายคนอาจไม่เชื่อว่า ในปัจจุบัน คนอินเดียต้องจ่ายค่าอาหารคิดเป็นอัตราส่วนเทียบกับรายได้ แพงกว่าคนอังกฤษถึงเกือบสองเท่า ซึ่งหากเทียบรายรับที่เท่ากัน คนอินเดียต้องจ่ายค่านม 1 ลิตร ในราคา 500 บาท และค่าข้าว 1 กิโลกรัม ในราคา 300 บาท
ประชากรชาวกัมเตมาลา กว่า 865,000 คน กำลังอยู่ในสภาพขาดแคลนอาหาร เนื่องจากการขาดการลงทุนในเกษตรกรรายย่อย จนทำให้กัวเตมาลาต้องพึ่งพิงการนำเข้าอาหารจากต่างชาติเป็นสำคัญ
กำลังการผลิตข้าวสาลีของ อาเซอร์ไบจาน ลดลงจากปีที่แล้วกว่าร้อยละ 33 เนื่องจากสภาพอากาศ ขณะที่ราคาอาหารเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน พุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 20 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2552
ประชากรในแถบแอฟริกาตะวันออกกว่า 8 ล้านคน ขาดแคลนอาหารเนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งมาเป็นระยะเวลานาน โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ เด็กและผู้หญิง
จากรายงานล่าสุด Growing a Better Future ของอ็อกซ์แฟม องค์กรพัฒนาเอกชนสากล กล่าวว่า ราคาต้นทุนวัตถุดิบอาหารจะพุ่งสูงเกินกว่าร้อยละ 120 ถึง 180 ในปี 2573 หรืออีกไม่ถึง 20 ปี โดยปัจจัยหลักมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากสภาวะโลกร้อน โดยผลการประเมินสถานการณ์ของอ็อกซ์แฟม เป็นไปในทิศทางเดียวกับ ธนาคารโลกที่ออกโรงเตือนก่อนหน้านี้ว่า ราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้น ผลักให้ประชากรโลกหลายล้านคนต้องตกอยู่ในสภาพยากจนสุดขีด และมีแนวโน้มว่าตัวเลขจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
อ็อกซ์แฟม เชื่อว่า ผู้นำโลกควรหันมาเริ่มทบทวนและเปลี่ยนท่าทีดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ทั้ง การเพิ่มระบบตรวจสอบและสร้างความโปร่งใสในตลาดซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภค, เพิ่มระดับการสำรองอาหาร, ยกเลิกมาตรการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ รวมถึงขยายการลงทุนในกลุ่มเกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะผู้หญิง
อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงที่ว่า 1 ใน 7 ของประชากรโลกกำลังประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร การฝากความหวังไปที่ผู้นำโลกให้ดำเนินมาตรการต่างๆ อาจไม่ใช่วิธีเดียวที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เพราะเราสามารถเริ่มต้นได้ง่ายกว่า ด้วยการหันกลับมาทบทวนวิถีการบริโภคของตัวเอง เช่นวัฒนธรรมบุฟเฟ่ต์ ซึ่งปล่อยให้หลายคนได้หลงใหลกับความคุ้มค่าเชิงปริมาณ และต้องตกอยู่ในสภาพ 'เกินอิ่มจนไม่อร่อย' ขณะที่เพื่อนอีกซีกโลกหนึ่ง ไม่มีแม้แต่น้ำสะอาดให้ดื่ม
ประชากรชาวกัมเตมาลา กว่า 865,000 คน กำลังอยู่ในสภาพขาดแคลนอาหาร เนื่องจากการขาดการลงทุนในเกษตรกรรายย่อย จนทำให้กัวเตมาลาต้องพึ่งพิงการนำเข้าอาหารจากต่างชาติเป็นสำคัญ
กำลังการผลิตข้าวสาลีของ อาเซอร์ไบจาน ลดลงจากปีที่แล้วกว่าร้อยละ 33 เนื่องจากสภาพอากาศ ขณะที่ราคาอาหารเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน พุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 20 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2552
ประชากรในแถบแอฟริกาตะวันออกกว่า 8 ล้านคน ขาดแคลนอาหารเนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งมาเป็นระยะเวลานาน โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ เด็กและผู้หญิง
จากรายงานล่าสุด Growing a Better Future ของอ็อกซ์แฟม องค์กรพัฒนาเอกชนสากล กล่าวว่า ราคาต้นทุนวัตถุดิบอาหารจะพุ่งสูงเกินกว่าร้อยละ 120 ถึง 180 ในปี 2573 หรืออีกไม่ถึง 20 ปี โดยปัจจัยหลักมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากสภาวะโลกร้อน โดยผลการประเมินสถานการณ์ของอ็อกซ์แฟม เป็นไปในทิศทางเดียวกับ ธนาคารโลกที่ออกโรงเตือนก่อนหน้านี้ว่า ราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้น ผลักให้ประชากรโลกหลายล้านคนต้องตกอยู่ในสภาพยากจนสุดขีด และมีแนวโน้มว่าตัวเลขจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
อ็อกซ์แฟม เชื่อว่า ผู้นำโลกควรหันมาเริ่มทบทวนและเปลี่ยนท่าทีดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ทั้ง การเพิ่มระบบตรวจสอบและสร้างความโปร่งใสในตลาดซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภค, เพิ่มระดับการสำรองอาหาร, ยกเลิกมาตรการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ รวมถึงขยายการลงทุนในกลุ่มเกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะผู้หญิง
อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงที่ว่า 1 ใน 7 ของประชากรโลกกำลังประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร การฝากความหวังไปที่ผู้นำโลกให้ดำเนินมาตรการต่างๆ อาจไม่ใช่วิธีเดียวที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เพราะเราสามารถเริ่มต้นได้ง่ายกว่า ด้วยการหันกลับมาทบทวนวิถีการบริโภคของตัวเอง เช่นวัฒนธรรมบุฟเฟ่ต์ ซึ่งปล่อยให้หลายคนได้หลงใหลกับความคุ้มค่าเชิงปริมาณ และต้องตกอยู่ในสภาพ 'เกินอิ่มจนไม่อร่อย' ขณะที่เพื่อนอีกซีกโลกหนึ่ง ไม่มีแม้แต่น้ำสะอาดให้ดื่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น